สังคมแห่งความสุข (สังคมพระภิกษุสงฆ์)
和合之乐
การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ถ้าขาดระเบียบวินัย ต่างคนต่างทำตามอำเภอใจ ความขัดแย้งก็จะเกิดขึ้น ยิ่งมากคนก็ยิ่งมากเรื่อง ไม่มีความสงบสุข การงานที่ทำก็จะเสียผล
一个团体共处,若缺少纪律,随心随欲地生活,就很容易发生冲突,所谓人多事杂,很难和合相处,工作也会受到影响。
ดอกไม้จำนวนมากที่วางรวมกัน หากวางอยู่ระเกะระกะกระจัดกระจาย ก็จะด้อยค่าลง ทั้งยังทำให้รกรุงรังอีกด้วย แต่เมื่อเรานำดอกไม้เหล่านี้มาร้อยรวมเข้าด้วยกันด้วยเส้นด้าย ดอกไม้เหล่านี้ก็จะกลายเป็นพวงมาลัยอันงดงาม เหมาะที่จะนำไปประดับตกแต่งให้เจริญตาเจริญใจ ถ้าคนแต่ละคนเปรียบเสมือนดอกไม้แต่ละดอก เส้นด้ายที่ใช้ร้อยดอกไม้ให้รวมกันอย่างมีระเบียบงดงามนั้นก็เปรียบเสมือนวินัย
假设有许多鲜花,可是却随意乱放,很难体现其价值,而且还会因凌乱而碍眼。倘若将这些鲜花用线串联起来,就会变成一串美丽的花环,成为赏心悦目的装饰品。如果一朵鲜花代表一个人,那么将鲜花整齐串联的线,则等同于纪律。
วินัย หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ สำหรับควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา ของคนในสังคมให้เรียบร้อยดีงาม เป็นแบบแผน อันหนึ่งอันเดียวกัน จะได้อยู่ร่วมกันด้วยความสุขสบาย ไม่กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน วินัยช่วยให้คนในสังคมห่างไกลจากความชั่วทั้งหลาย
纪律指应遵循的规范准则或规章制度,约束个人的身口意,使每个人具备良好的行为,在和谐的社会里和合共处,没有冲突,远离诸恶。
สังคมแห่งความสุขที่สืบทอดมา 2500 กว่าปีจนถึงปัจจุบันนี้ ก็คือสังคมของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา จุดมุ่งหมายสูงสุดชีวิต คือความหมดกิเลส ซึ่งผู้ที่จะหมดกิเลสได้ต้องมีปัญญาอย่างยิ่ง ผู้จะมีปัญญาอย่างยิ่งได้จะต้องมีสมาธิอย่างยิ่ง ผู้จะมีสมาธิอย่างยิ่งได้ จะต้องตั้งอยู่บนฐานของศีลอย่างยิ่ง คือ วินัย ๔ ประการอันเป็นพื้นฐานของความบริสุทธิ์ ได้แก่
佛教僧团组织历经2500多年薪火相传至今,一直秉承同一个目标,即断尽一切烦恼。断尽烦恼者,应具足大智慧;具足大智慧者,应具足正定;具足正定者,应具足戒律。持戒者应清净持守四种清净戒,分别为:
๑. สำรวมอยู่ในศีล ๒๒๗ ข้อ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติ เว้นข้อที่พระองค์ทรงห้าม ทำตามข้อที่พระองค์ทรงให้ปฏิบัติ
- 别解脱戒。即比丘必须严格遵守佛陀制定的二百二十七条基本戒法,不行禁止之事,行应行之事。
๒. การรู้จักสำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เพลิดเพลินไปกับอารมณ์อันน่าใคร่ อันเกิดจากการเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส และการรับรู้อารมณ์ทางใจ อะไรที่ไม่ควรดูก็อย่าไปดู อะไรที่ไม่ควรฟังก็อย่าไปฟัง อะไรที่ไม่ควรดมก็อย่าไปดม อะไรที่ไม่ควรลิ้มชิมรสก็อย่าไปชิม อะไรที่ไม่ควรถูกต้องสัมผัสก็อย่าไปสัมผัส และอะไรที่ไม่ควรคิดก็อย่าไปคิด
- 根律仪戒。即比丘必须以正念防护诸根,不让眼、耳、鼻、舌、身、意沉迷,由色、声、香、味、触、法所生之外缘。不应看的不看,不应听得不听,不应闻的不闻,不应尝的不尝,不应触的不触,不应想的不想。
๓. อาชีวปาริสุทธิ คือการหาเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ ได้แก่ การ บิณฑบาต สำหรับการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด เช่น การหาลาภสักการะด้วยการ ใบ้หวย การเป็นหมอดู การเป็นพ่อสื่อแม่ชัก การประจบชาวบ้าน จัดเป็นการกระทำที่ผิดพระวินัย
3.活命遍净戒。即比丘必须以正确方式获取生活必需品,例如托钵化缘。对于非正确获取必需品的方式,则有通过暗示彩票开奖号码、算命、做媒人、奉承施主等。
๔. การพิจารณาก่อนที่จะบริโภคหรือใช้ปัจจัย ๔ (อาหาร เครื่อง นุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค) ว่าสิ่งนั้นเป็นเพียงเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตให้อยู่ได้ เหมือนน้ำมันหยอดเพลารถให้รถแล่นไปได้เท่านั้น
- 资具依止戒。指比丘必须在用衣、食、住、药四种资具或必需品之前(及当时与之后)适当地省察运用它们的正确目的。
พิจารณาดังนี้แล้วย่อมบรรเทาความหลง ความมัวเมาในอาหาร เครื่อง นุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคได้ ทำให้กินเพื่ออยู่ ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน
如法省察之后,不应攀缘于衣、食、住、药,明白吃是为了生存,而非生存是为了吃。
วัตถุประสงค์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบัญญัติวินัย
佛陀制戒的十种利益:
๑. เพื่อรองรับความตั้งอยู่ดีของหมู่สงฆ์
๒. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๓. เพื่อความสุขสำราญแห่งหมู่สงฆ์
๔. เพื่อความสุขสำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
๕. เพื่อป้องกันอาสวกิเลสอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖. เพื่อป้องกันอาสวกิเลสอันจะบังเกิดในอนาคต
๗. เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม
๑๐. เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย เป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาให้เจริญวัฒนาสถาพรสืบต่อไป
1、摄取于僧。
2、难调者令调服。
3、令僧安乐。
4、令僧欢喜。
5、断现在有漏。
6、断未来有漏。
7、令未信者信。
8、已信者令增长。
9、惭愧者得安乐。
10、令正法久住。
พระภิกษุสงฆ์จำนวนมากอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เรียบง่าย ไม่เบียดเบียนใคร โดยอาศัยพระธรรมวินัยในการลดความกระทบกระทั่ง ไม่เข้าใจกัน และเป็นกรอบคอยกำกับให้เกิดความสงบ สามัคคี ซึ่งมิใช่เป็นการควบคุมเพื่อความสำรวมทางกาย และวาจาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นกรอบคอยควบคุมความสำรวมทางใจ ให้ออกห่างจากพฤติกรรมอันทำให้กิเลสพอกพูนมากยิ่งขึ้น
比丘作为团体相处,需要以戒律为基础,减少彼此间的摩擦和矛盾,才会获得和合、安乐、简朴的生活。在持戒过程中,不仅要自制身与口,还要懂得调伏内心,远离令烦恼增长的行为。
พระภิกษุสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เป็นเป็นครูสอนศีลธรรมให้แก่ชาวโลก จะอาศัยเพียงความรู้ความสามารถอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมด้วยตนเองเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งผลของการปฏิบัติธรรมจะดีมากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์บริบูรณ์แห่งศีลและวินัยเป็นที่ตั้ง ดังนั้น สังคมของพระภิกษุสงฆ์ จึงถือได้ว่าเป็นสังคมต้นแบบ หรือกล่าวอีกนัยนึงก็คือ วัด จึงเป็นศูนย์กลางของความสุข ความดีงาม ที่พร้อมที่จะขยายไปสังคมโลกในที่สุด
比丘作为教导世人道德的老师,不仅要具备相应的知识与能力,还要在修禅定中具备丰富的经验。个人禅定经验之多寡,应以清净持戒为基础。因此,僧团作为一个团体,可谓是社会的典范,换句话说,寺院如同一个和谐的中心,最终将这份和谐与安乐,扩散至世界每一个角落。