หมวด 6 ใช้ชีวิตให้คุ้มค่า เราเกิดมาสร้างบารมี
Chapter 6 Make life worth living, we were born to pursue perfection
要不枉此生,生而为人是为了修功德波罗蜜
- กายมนุษย์เท่านั้นสร้างบารมีได้ (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
เราเกิดมาสร้างบารมีก็ต้องสร้างกันให้เต็มที่เต็มกำลัง อย่าไปขยักขย่อน เพราะชีวิตมนุษย์สั้นนัก ไม่ช้าเดี๋ยวเราก็ตายจากโลกนี้ไปแล้ว การเวียนว่ายในสังสารวัฏนี้ กายมนุษย์เท่านั้นที่สร้างบารมีได้ กายอื่น ภพอื่น ทำได้ยาก นาน ๆ จึงจะมีปรากฏสักครั้งหนึ่ง ซึ่งถือเป็นกรณียกเว้น อย่างท้าวสักกเทวราชกับนางสุชาดาที่ได้ถวายทานกับพระอรหันต์ เราอย่าไปคิดทำอย่างนั้น เพราะมันเกิดขึ้นได้ยากมาก ๆ ตอนนี้เรายังมีกายมนุษย์ ยังมีชีวิตอยู่ มีเรี่ยวมีแรงแค่ไหนก็สร้างบารมีกันให้เต็มที่เต็มกำลัง เมื่อไรที่บุญส่งผล เราจะปลื้ม
๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗
- Only the human body can pursue perfection. (When you don’t know what to read 3)
We were born to pursue perfection. Thus, we have to do it to the fullest potential. Don’t take it easy because human life is short. Very soon we will die from this world. In the cycle of rebirths, only the human body can pursue perfection. Other kinds of bodies in other worlds are difficult to pursue perfection. It happens once in a long while and is an exception such as Sakra, Lord of the Devas and Lady Suchada who gave alms to an Arahant. But, we should not even think about doing that. Because it happens very rarely. Now we still have a human body and are still alive. We must pursue perfection with all effort and power. When merit bears its fruit, we will be pleased.
February 8, 2004
- 生而为人才能修功德波罗蜜
生而为人要竭尽所能地修波罗蜜,人生苦短,不要犹豫。不久我们将离开人世间,在轮回中流转。生而为人时才能修功德波罗蜜,其他的身体和境界很难修,许久许久才能有一次修的机会,就像帝释天王和素叉搭女士供养阿罗汉。
不要以为总有机会,因为机会其实非常少见。目前人身已得,生命尚存,有多少精力修波罗蜜就竭尽所能地修吧。当功德回报时,我们将法喜充满。
2004年2月8日
- เพาะกล้าแห่งความดี (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
ความเกรงใจเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าจะชวนใครสร้างบารมี ไม่ต้องเกรงใจ เราไม่ได้ชวนเขาไปดื่มเหล้า เจ้าชู้ เล่นการพนัน เพราะฉะนั้นชวนไปเลย ซึ่งก็จะเจอคน ๓ ประเภท ที่อินทรีย์แก่กล้า พอบอกปั๊บ ทำทันที ถ้าอินทรีย์ปานกลาง พอได้ฟังแล้วขอคิดดูก่อน ส่วนที่อินทรีย์อ่อน ๆ ประเภทนี้ก็จะปฏิเสธพัลวันทำไมต้องชวนทำบุญบ่อย ๆ อย่างนี้อินทรีย์ยังอ่อนอยู่ ถูกความตระหนี่ได้ช่องครอบงำ แต่ก็ยังพอมีแสงสว่างเล็ดลอดผ่านให้ไปถึงเขาได้ วันนี้แม้เขายังไม่เข้าใจ แต่วันข้างหน้า สิ่งที่เราได้มอบให้เขาเมล็ดพืชที่เราเพาะไว้ในดวงใจเขา ที่ชวนเขาสร้างบารมีก็จะเจริญเติบโตขึ้น และวันนั้นเขาก็จะคิดได้ เพราะฉะนั้นเราไปทำหน้าที่ ไปชวนเขาเถิดประเสริฐนัก คนมีตั้งหลายพันล้านคน ชาตินี้เราจะชวนคนสร้างความดีได้สักล้านคนไหม เราต้องคิดว่า จะต้องชวนคนให้มาสร้างความดีให้ได้เป็นล้านคน เคยคิดอย่างนี้ไหม
๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
- Cultivate good deeds (When you don’t know what to read 3)
Being considerate is a good thing. But if you want to invite someone to pursue perfection, don’t be afraid to ask. We are not inviting him or her to drink, flirt, or gamble. So go for it. We will encounter 3 types of people. The first will do it immediately after listening to us. The second will think about it. The third will reject our invitation and ask us why we bother them so often. The third group still lacks the true understanding of life and is possessed by stinginess. However, there is still a wide enough opening for a light to pass through to reach them. Today, they might not understand our intention. But we have planted the seed of good deeds in their minds. The seed will grow and in the future, they will be able to understand. So we go on inviting people to do good deeds. It is a noble task. There are billions of people in this world. Can we invite a million people to create good deeds in this life? We have to think about inviting a million people to create good deeds. Have you ever thought of this?
July 9, 2007
- 种下行善的种子
在意他人的想法是好的,但是邀请别人来修波罗蜜不必感到不好意思,因为我们不是邀请他去喝酒、邪淫或赌博。所以,大方地邀请吧。
邀请时将遇到三种人:身心俱备,邀请后就立刻做的人;身心未准备好,邀请后要考虑一下的人;身心状态不佳,邀请后就直接拒绝的人。
为何要经常邀请别人来修功德呢?身心状态不佳的人,心被吝啬所垄罩,邀请就像一道光芒穿透云雾一般照耀他的心。就算现在他还不懂,但是未来总有一天,我们在他心中种下的种子将茁壮成长,到那天他将自己领悟。所以我们要尽邀请的责任,去邀请大家吧。
世界上有十几亿人口,这辈子我们能否邀请一百万人来行善?我们必须要有邀请一百万人来行善的想法。你曾有过这样的想法吗?
2007年7月9日
- กัลยาณมิตร (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
หลักสำคัญที่สุดของการทำหน้าที่กัลยาณมิตร คือ การปฏิบัติธรรม ปฏิบัติธรรมเพื่อสั่งสมบุญกุศลไว้ในตัวมาก ๆ แล้วตัวเราจะมีพลังใจที่เข้มแข็ง เบิกบาน มีความสุข กระแสแห่งความสุขใจของเราจากการประพฤติปฏิบัติธรรม จะแผ่ขยายออกไปรอบตัว เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่เราสามารถสัมผัสได้ด้วยใจ บุคคลใดก็ตามที่เข้าใกล้เรา เขาจะมีความรู้สึกเย็นใจ สุขใจ อบอุ่นใจอย่างบอกไม่ถูก เหมือนคนเดินฝ่าเปลวแดดร้อนแรงมา แล้วเดินไปเจอต้นไม้ใหญ่ ได้นั่งพักใต้ร่มไม้นั้น ย่อมมีความเย็นกายเย็นใจฉะนั้น และการที่พวกเราออกไปทำหน้าที่กัลยาณมิตร ไปพบปะหมู่ญาติเพื่อนร่วมโลกของเรา เพื่อที่จะเชิญชวนให้เขามาสร้างบุญร่วมกับเรานั้น ไม่ว่าจะปฏิบัติหน้าที่ในต่างจังหวัด หรือในกรุงเทพฯ ก็ดี อย่าคิดว่าเราทำหน้าที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย อย่าลืมว่าหลวงพ่อไปกับลูก ๆ ด้วย ให้ระลึกเสมอว่า เราทุก ๆ คนอยู่ในศูนย์กลางพระธรรมกายของหลวงพ่อ และคุณยายเสมอ ให้ตรึกใจไว้ที่ศูนย์กลางกายทุกครั้งที่ออกไปทำหน้าที่ ณ ตำแหน่งตรงนี้เราจะเปิดใจพบกับหลวงพ่อ ถ้าเราทำได้อย่างนี้ การทำหน้าที่กัลยาณมิตรของเรา ก็จะสำเร็จอย่างสมบูรณ์
๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
- Kalyanamitta (When you don’t know what to read 3)
The most important duty of a Kalyanamitta or a good friend is to practice meditation. Practice meditation in order to accumulate a lot of merit within ourselves. Then we will have a strong mind, joy, and happiness. The flow of our happiness from meditation will spread out around us. It is invisible to the eyes, but we can feel it with our hearts. Anyone who approaches us, he or she will have a feeling of calmness, happiness, and warmth that cannot be described. Like a person walking through the heat of the sun, find a big tree, and sit under the shade of the tree. That person must feel cooler in the body and mind. When we go out to act as a good friend to other people and invite them to make merit together with us whether in other provinces or in Bangkok, do not think that we are acting alone. Do not forget that Luang Por goes with us. Always remember that we are all in the center of Dhammakaya of Luang Por and Khun Yai always. Keep our mind at the center of our body every time we go out to do our duty. At the center, we open our minds to meet with Luang Por. If we can do this, our duty as a good friend will be fully accomplished.
August 3, 1985
- 善知识
身为善知识,最重要的责任就是要如法实修。如法实修,以累积浩如烟海的功德,我们的心将更坚定、开朗、愉快。如法实修将带来幸福快乐,其扩大并包覆自己,肉眼虽看不到,但心却能够感知到。无论是谁在身边都能感受到无法言喻的平静、快乐和温暖,如同一个人走在烈日下,遇到一棵大树,坐在树荫下休息后,得到身心的清凉一般。
当在外尽善知识的责任时,遇到身边的亲戚朋友,邀请他们来一起修功德,无论是在外府或是在曼谷,都不要认为是自己独自奋斗,不要忘了法胜师父一直都陪伴着每位弟子。要记得我们每个人都一直被安放在法胜师父和老奶奶的法身佛中心点之中,每次尽善知识的责任时要提醒自己将心安放于中心点,在此点上就是与法胜师父同在。若如是做,我们就能够完美地尽身为善知识的责任。
1985年8月3日
- ผู้นำบุญยอดกัลยาณมิตร (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
กัลยาณมิตร หรือ ผู้นำบุญ ไม่ใช่หมายถึงผู้ที่ไปเชิญชวนคนมาทำบุญเท่านั้น หากแต่หมายถึง บุคคลนั้นจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีงามแก่ชาวโลก ทั้งความประพฤติทางกาย วาจา ใจ ต้องอุดมไปด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างนี้จึงจะเรียกว่า “กัลยาณมิตร” อย่างแท้จริง หลักสำคัญที่สุดของทุกชีวิต ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ในแต่ละชาตินั้น ต่างก็ต้องการแสวงหาความสุขแท้จริงทั้งนั้น และความสุขนี้รวมประชุมอยู่ในพระธรรมกาย ซึ่งอยู่ในศูนย์กลางกายของมนุษย์ทุก ๆ คน ในฐานะที่เราเป็นผู้นำบุญยอดกัลยาณมิตร เราก็ต้องไปแนะนำชาวโลก เพื่อให้เขาพบความสุขที่แท้จริง เพื่อให้เขาเข้าใจเรื่องโลกและชีวิตอย่างถูกต้อง เพื่อแนะนำให้เขาได้เข้าถึงพระธรรมกายภายในให้ได้ การที่จะเข้าถึงพระธรรมกายภายในได้นั้นจะต้องสั่งสมบุญ ตั้งแต่การให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาอย่างสม่ำเสมอ แม้ทีละเล็กละน้อยก็จะค่อย ๆ เพิ่มพูนขึ้น แล้วในที่สุดก็จะน้อมนำใจเราเข้าถึงพระธรรมกาย พบกับความสุขภายใน ความสุขก็จะขยายออกมาภายนอก ทำให้จิตใจเบิกบาน ผิวพรรณวรรณะผ่องใส มีพลังใจที่จะดึงดูดหมู่ญาติให้มาร่วมบุญด้วย นี้เป็นหลักสำคัญของผู้นำบุญ ดังนั้น กัลยาณมิตรจะต้องปฏิบัติธรรมทุก ๆ วัน อย่างสม่ำเสมอ ขาดไม่ได้แม้แต่วันเดียว ไม่ว่าเราจะมีภารกิจเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าแค่ไหนก็ตาม เราก็จะไม่ทิ้งเรื่องปฏิบัติธรรม
๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
- Merit Leader and Kalayanamitta (When you don’t know what to read 3)
Kalyanamitta or merit leaders does not only refer to those who invite people to make merit only, but also those who are a good example in physical conduct, speech, and mind, to the world. They must be rich in precepts, inner peace, and wisdom. Then, they can be truly called “Kalayanamitta”. The most important principle of every life that is born as a human being is to seek true happiness. This happiness is gathered in the Dhammakaya which is in the center of the body of every human. Since we are Kalyanamitta, we must introduce this principle to people around the world. So, they can find true happiness and understand the world and life correctly. We tell them how to attain the Dhammakaya within themselves. In order to attain the inner Dhammakaya, one must accumulate merit from giving alms, keeping the precepts, and meditating regularly. We can start doing little by little and gradually perform more of these wholesome deeds. Eventually this will lead our mind to reach the Dhammakaya and find inner happiness. Happiness will expand outward, cheer up our mind, and make our skin radiant. Our minds will possess the power to attract our relatives and friends to join the merit-making activities as well. This is the main principle of the merit leader or Kalyanamitta. Therefore, Kalyanamitta must practice meditation regularly and cannot miss the practice even one day. No matter how exhausting our day is, we will not abandon the practice of meditation.
August 3, 1985
- 善知识的典范
善知识不只是邀请别人来修功德而已,还要以清净的身口意修戒、定、慧,作为世人的典范,如此才是所谓真正的“善知识”。
对于所有众生,生而为人的生生世世中,最重要的就是寻找真正的幸福快乐。然而真正的幸福快乐就在法身中,也就是在所有人的身体中心点。身为善知识的典范,就要将法身法门弘扬到全世界,以让人们找到真正的幸福,使其了解生命的真相,助其能够证入法身。
只有修功德才能获致证入法身,因此要持续地从布施、持戒、静坐去一点一滴地慢慢累积,最后将接引我们的心去证入法身。证悟内在的快乐后,快乐会从内在扩散到外在,将使心情开朗,肤色皓洁,有心力去介绍亲戚朋友进来一起修功德,这是身为善知识的重点。所以善知识要每天如法实修,一天都不能懈怠,就算案牍劳形甚至筋疲力竭,都不放弃修习佛法。
1985年8月3日
- อดเปรี้ยวไว้กินหวาน (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
นักรบกองทัพธรรมเมื่อเข้าสู่สมรภูมิรบ ก็คล้าย ๆ ทหารทางโลกที่เข้าสู่สมรภูมิ ก็จะต้องเจออาวุธทุกชนิดของข้าศึก เราจะเลือกไม่เจอก็ไม่ได้ เลือกเจอบางชนิดก็ไม่ได้อีก ต้องอดทนถึงจะเป็นนักรบทางโลกได้ ทางธรรมก็เช่นเดียวกัน ก็ต้องเจอ เพราะเราไปรบกับความตระหนี่ที่อยู่ในใจเขา เรากำลังจะให้เขาเอาชนะความตระหนี่ เราจะมาท้อใจทำไม มันไม่ใช่รบกันเหมือนเล่นลิเกละคร ร้องไปถือดาบไม้ไป รำป้อฟันกัน ๒ ที แล้วก็เดินสวนกัน ร้องเพลงกันไป มันไม่ใช่ นี่เป็นเรื่องจริง ๆ ของชีวิตที่มันเกิดขึ้น ถ้าเราอดเปรี้ยวได้ เดี๋ยวเราก็จะได้กินหวานที่ยาวนาน หวานชื่นบานอยู่ในสุคติโลกสวรรค์ ชื่นบานอยู่ในมนุษยโลกในภพชาติต่อไปอีกยาวนาน ผลที่ได้เกินควรเกินคาด เหนือความคาดคิดของมนุษย์ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีดวงปัญญากว้างขวางใหญ่โตแค่ไหน มีความรู้ความสามารถแค่ไหน เขาคาดคะเนกันไปไม่ถึง นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นถึงจะรู้เพราะฉะนั้น เราอยู่ในโลกนี้อีกไม่กี่ปี อดเปรี้ยวไว้กินหวาน อย่าลืมคำนี้ มันมีความหมายที่ลึกซึ้ง จะเจอเปรี้ยวจี๊ด เปรี้ยวปาก เปรี้ยวขนาดไหนก็ช่างมัน เจอคนเปรี้ยว ๆ กิริยาท่าทางเปรี้ยว ๆ คำพูดเปรี้ยว ๆ อดทนเอาไว้ อดใจเอาไว้ หรือมีสิ่งที่มาล่อเราให้ไปทำอย่างอื่น ดูแล้วหรูดี มันมีทางมาแห่งลาภ ยศ สรรเสริญ ทรัพย์สิน เงินทอง ก็ต้องอดใจเอาไว้ อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ด้วยการสร้างความดีของเรา ทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ ใช้ร่างกายนี้ให้เหมือนอ้อยที่หีบเอาความหวานออกให้หมดเหลือแต่ชานก็ทิ้งไป ร่างกายนี้เหลือแต่ซากแล้วเราก็ทิ้งไป ส่วนความดีบุญกุศลก็เอาติดตัวไปในภพเบื้องหน้า เพราะฉะนั้น ยามนี้อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ทนลำบากอีกเพียงเล็กน้อย ไม่กี่สิบปีในเมืองมนุษย์ แต่ว่าหวานของเรานี้เป็นหมื่นเป็นแสนปี มันยาวนานมาก ผู้มีปัญญาเขายอมอดเปรี้ยวแต่ไปกินหวานตรงนั้น
๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
- Forgo the sour for the sweet (When you don’t know what to read 3)
When Dharma warriors enter the battlefield, they are like worldly soldiers entering the battlefield. Soldiers in the fields will have to encounter all kinds of weapons of the enemy and cannot choose not to meet the enemy. They cannot choose to meet only enemies with certain types of weapons. They must be patient to be a soldier in a battle in the world. Likewise, the Dharma warriors will encounter all kinds of defilements. We must fight against the stinginess that is in ours and other’s hearts. We encourage others to fight their stinginess. Why should we be discouraged? Our fight is not like musical folk drama in which characters sing, dance, and fight with wooden swords. This is a real life story that actually happens. If we can forgo the sour mango now, we will be able to eat the sweet ripe mango later for a long time. It is sweet and joyful in heaven and in the human world in the future for a long time. The results are beyond expectations and beyond the expectation of human beings in the world. No matter how knowledgeable and competent scientists are, they are not able to expect the outcome. Only the Lord Buddha knows the outcome. Since we are in this world for a few more years, we must forgo the sour for the sweet. Do not forget these words. They have a deep meaning. We will encounter unwholesome deeds that are alluring or bad people with sour conduct and words, we must be patient. If there is something or someone that tempts us to commit sins for fortune, rank, praise, property, money, we must be patient. We must forgo the sour at the moment for the sweet later by doing our good deeds. We must perform our duty fully and use this body fully for good deeds. We work our body like cramming a sugarcane to obtain the sweet juice and leaving the pulp. We leave our body in the world, but take good deeds and merit with us into the next life. Now we must forgo the sour for the sweet later. We only endure a little now. A few more decades in the human world. But this sweet of our deeds will last tens of thousands and hundreds of thousands of years in the future. It will be a very long time. The wise man gives up his sour mango and waits for the sweet mango later.
January 20, 2002
- 苦尽甘来
当佛教的战士进入战场,就如同士兵进入战场一般。士兵会遇到敌人的兵刃相向,无法选择不兵刃相接,也不能选择要面对何种敌人,要忍耐直到成为世间的战士。修行道上亦同,我们是和心中的吝啬作战,为了战胜吝啬,我们不能退缩。这不是演音乐剧,不是边拿着木剑、踩着交叉旋转的舞步边哼唱歌曲的事,这是人生中真实发生的事。
若懂得忍耐,将苦尽甘来,将到天国享乐或是到来世在人世间享受长久的幸福快乐。善报将超乎想象,超乎一般人所能够预期的,无论是哪一位学识渊博的科学家,多么地具备聪明才智也无法估算,只有佛陀一人能够参透。
转眼之间人生就会结束,要将苦尽甘来这句话谨记在心,这是有深意的一句话。遇到什么样的苦都不要理会,遇到不好的人、没礼貌的行为或不雅的言语,要忍耐,不要被牵引着去做无谓的事。得到权、誉、乐和金银财宝是有方法的,同时也要有耐心。不断行善,总有一天将苦尽甘来。要竭尽所能地完成任务,这个身体像是甘蔗一样,甘蔗要将糖分全部榨干剩下残渣后丢弃,身体也是一样,利用之后剩下尸体丢弃,一切善业将跟着我们到来世,所以要强调苦尽甘来。
在未来几十年的人生中,再忍受一下痛苦,当善业回报,是为时万年甚至十万年的。有智慧的人将懂得苦尽甘来的道理。
2002年1月20日
- นักรบกองทัพธรรม…ต้องไม่หวั่นไหว (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
นักรบกองทัพธรรมต้องไม่หวั่นไหวในอุปสรรคทั้งมวล อย่าคิดว่า เราเป็นมนุษย์ธรรมดาก็ต้องมีความหวั่นไหวบ้าง ถ้าเป็นคนอื่นยอมให้หวั่นไหวอย่างนั้นได้ แต่นักรบกองทัพธรรมที่แท้จริง ต้องไม่หวั่นไหว ต้องสู้ ต้องหาหนทางทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีทางตัน ทุกปัญหามีทางออก ถ้าใจสงบเดี๋ยวเราก็พบทางออก เราต้องทำความเข้าใจในทุกสิ่งว่า ตอนนี้ธรรมะกับอธรรมกำลังรบกันอยู่ ยังไม่มีใครแพ้ ใครชนะ ล้วนแต่มีฤทธิ์พอ ๆ กัน เพราะฉะนั้นเราจะให้ได้สมหวังดังใจในทุกสิ่ง มันไม่ได้ ดังนั้น เวลาเราไปทำหน้าที่ ก็จะไปเจอคน ๓ ประเภท คือ ที่มีอินทรีย์แก่ อินทรีย์ปานกลาง และอินทรีย์อ่อน ใจของเราต้องเด็ดเดี่ยว อย่าให้ใจเรากระเพื่อม เมื่อโปรดเขายังไม่ได้ ก็วางเขาไว้ก่อน แต่ไม่ได้ทิ้ง สักวันหนึ่งเราจะหวนคืนมาใหม่ แล้วหอบเอาเขากลับไป ชีวิตมนุษย์เป็นทุกข์ สักวันหนึ่งเขาต้องเจอ ไม่ทุกข์อย่างใดก็อย่างหนึ่ง วันนั้นเขาจะคิดถึงเรา จะตามหาเรา และวันนั้นจะเป็นวันที่เขามีความพร้อมที่จะต้อนรับเรา พร้อมที่จะฟังธรรม ฟังคำแนะนำที่ดีจากเรา
๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
- Dharma warriors… must not be shaken. (When you don’t know what to read 3)
Dharma warriors must not be shaken in all obstacles. Don’t think that human beings can sometimes be shaken. Someone else can be shaken, but a true righteous warrior must not be shaken to fight and to find a way for everything. There is no dead end. Every problem has a solution. If our mind is calm, we will find a solution. We must understand that for everything right now, good and evil are at war. No side has yet lost or won. Each side has about the same power. That is why we cannot achieve all our wishes. Therefore, when we go to do our duty, we will meet three types of people: wholly receptive, somewhat receptive, and not receptive. Our hearts must be resolute. Don’t let our hearts flutter. When they are not receptive to our invitation to do good deeds, we will not leave them forever, but one day we will come back again. Human life is full of suffering and one day they will encounter the suffering. On that day they will miss us and will find us. On that day they will be ready to welcome us, listen to us, and hear our good advice.
January 20, 2002
- 佛教的战士们,心志不能动摇
面对任何的障碍,佛教的战士们,心志不能动摇。不要认为我们是普通人,有时候会心志不坚。如果是其他人可以心志不坚,但是真正的佛教战士心志不能动摇。要奋斗,要找出路,没有什么是解决不了的。任何问题都有解决的办法,只要心平静,自然会有出路。我们要对任何事物都有这样的认知,现在佛法正在和邪恶对抗着,目前势力相当,还未分出胜负,所以我们还不能随心所欲地过活。
当我们弘扬佛法时将会遇到三种人:身心俱备、身心未准备好或身心状态不佳的人。我们的心要保持坚定不动摇,若他人还不能接受,不要执着但也不要抛弃。总有一天他会回来,当他回来时,我们要张开双手来迎接他。人生是苦海,他也必将经历,当他有了离苦的想法,到那天他将想到我们,来找我们,他将会准备好接受我们,准备好听闻佛法,接受我们善的建议。
2002年1月20日
- เหนื่อยแต่คุ้ม (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
ถามว่า “เหนื่อยไหม” ในการที่เราจะไปชวนเขามาทำความดี ตอบว่า “เหนื่อย” แต่ไม่ว่าจะทำมาค้าขายก็เหนื่อย จะออกกำลังกายเพื่อจะให้ความแข็งแรงกับตัวเราก็เหนื่อย แปลว่า จะทำอะไรก็เหนื่อย แต่เหนื่อยแล้วมันสุดคุ้ม เหนื่อยแต่มีความสุข มีหลายคนถามหลวงพ่อว่า “เหนื่อยไหม” ก็เหนื่อยนะ แต่มีความสุขในการที่จะนำธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาถ่ายทอดให้ทุกคนได้ฟัง หรือให้ทุกคนได้ทำความดี เพราะฉะนั้นเราเกิดมา เราก็ต้องเหนื่อย และก็ต้องเหนื่อยกันทุกวันด้วย เราหาวิธีเหนื่อยที่มันคุ้ม
๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
- Tired but worth it (When you don’t know what to read 3)
If we ask “are you tired?” from inviting people to do good deeds, the answer is “tired”. However, working is also tiring or even exercise for our own physical strength is also tiring. That means we can be tired from doing anything. Doing good deeds is tiring, but is worthwhile and joyful. Many people asked Luang Por “Are you tired?” He said he was tired, but he was happy to bring the Dharma of the Lord Buddha to everyone or to teach everyone about good deeds. Since we were born, we are tired and will continue being tired every day. We must find out how to be tired and receive a worthwhile return.
July 15, 2007
- 累,但是值得
累吗?我们去邀请别人来行善,对这个问题会回答“累”。但是经商也累,为了身体健康而运动也累,做什么都累,不过累要值得,要累得快乐。
有许多人问法胜师父“累吗?”累啊,但是这样可以弘扬佛法,让每个人能够听闻佛法,可以行善。所以生而为人就必须要劳累,还要每天都劳累,且要找到劳累又值得的方法。
2007年7月15日
- ถ้าไม่เหนื่อยจะได้บารมีมาจากไหน (เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3)
การสร้างบารมีบางครั้งเราก็ต้องอดทน ต้องเหนื่อยยากลำบาก เพราะถ้าเราไม่เหนื่อยยากลำบากเราจะได้บารมีมาจากไหน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา ขันติเป็นตบะธรรมอย่างยิ่ง หมายความว่า เราต้องอดทนอดกลั้นที่จะสร้างบารมี เราเคยได้ยินคำว่า “บุญหล่นทับ” แต่ความจริงแล้วไม่มี จะมีได้ก็ต่อเมื่อเราทำ
๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
- If not through our tiring actions, how do we pursue perfection? (When you don’t know what to read 3)
To pursue perfection, sometimes we have to be patient and tired. Because if we do not encounter hardship and get tired, where will our perfection come from? The Lord Buddha said that “khanti paramam tapo titikkha” translated to Khanti is the ultimate dharma. It means we must be patient and persevere to pursue perfection. We have heard the term “fortune falling on a person”, but in reality, there is no such thing. There will be a fruit of merit only when we make merit.
August 5, 2007
- 若不辛苦,波罗蜜从何而来
修波罗蜜是需要忍耐的,是必须克服艰难困苦。若不辛苦,波罗蜜从何而来?佛陀曾经开示“坤低 波罗芒 搭波 滴底咖”,意思是忍辱是伟大的苦行,即修波罗蜜的过程中要忍辱负重。曾听说过“意外的功德”,实际上是并不存在的,只有修功德才能得到功德。
2007年8月5日